ล้อการเมือง

การเมืองไทย

การเมืองไทย: กลับมาเป็นปกติ?ปกติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นประชาธิปไตย

นายกฯ ไทยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้บินไปฮ่องกงและเกาหลีใต้เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อยืนยันกับนักลงทุนว่าการเมืองของประเทศไทยได้กลับสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ในประเทศไทยของอภิสิทธิ์ สภาวะปกติหมายถึงการลื่นไถลอย่างน่าเศร้ากลับไปสู่โครงร่างที่เรียกว่าเป็น ประชาธิปไตยแบบไทยๆซึ่งเป็นระบบที่นักการเมือง พรรคการเมือง และรัฐสภา ถูกทำให้อ่อนแอ และอำนาจที่แท้จริงตกอยู่ในมือของสถาบันแบบดั้งเดิมที่กดขี่ และเป็นลำดับขั้น (hierarchical)การให้ความเชื่อมั่นของ อภิสิทธิ์หลังจากหลายปีของความวุ่นวายซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2548 จากการที่มีประท้วงขับไล่อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร และถูกสับขั้วโดยการรัฐประหารปี 2549 ที่ทำให้ทักษิณต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ที่ทำให้มีความรุนแรงบนถนนมากขึ้น การบุกยึดครองสนามบินโดยพันธมิตรที่คลั่งเจ้าและการปราบปรามผู้ประท้วงต่อ ต้านรัฐบาลเมื่อกลางเดือนเมษายนสถาบัน เหล่านี้ได้ให้ "เสถียรภาพทางการเมือง" กับประเทศไทยในอดีต นั่นก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์ ทหาร และข้าราชการ แต่สถาบันดังกล่าวได้ตกอยู่ในสภาวะกดดันจากการพัฒนาของระบอบรัฐสภาใน ช่วงที่ทักษิณเป็นนายกฯ จุดศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในมือเขา และการดึงดูดชนชั้นที่ยากจนและอ่อนแอที่สุดของเขามันท้าทายความคิดของพวก อนุรักษ์นิยมซึ่งมีจุดศูนย์กลางของอำนาจอยู่ที่กลุ่มชนชั้นสูงที่เป็น อนุรักษ์นิยมขณะนี้มีหลักฐานอยู่มากมายที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่ม อนุรักษ์นิยมซึ่งถือว่าตนเองมีความชอบธรรมมากที่สุดในการปกครองประเทศได้ กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง นายกฯอภิสิทธิ์และพรรคร่วมรัฐบาลของเขาที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่ เป็นแค่ผู้จัดการเวทีเพื่อการกลับมาของพวกอนุรักษ์นิยม

ทางสองแพร่งของจริยธรรมการบริหารรัฐกิจ

ทางสองแพร่งของจริยธรรมการบริหารรัฐกิจ

“การบริหารรัฐกิจแนวเก่า” (Old Public Administration) และ “การจัดการภาครัฐแนวใหม่” (New Public Management) ให้ความสนใจและความสำคัญกับการพัฒนาการบริหารภายในองค์การหรือระบบราชการเพื่อให้บรรลุคุณค่าที่สำคัญคือ“ประสิทธิภาพ” (Bureaucracy and efficiency) ส่วนการบริการประชาชนแนวใหม่ (New Public Service) ให้ความสนใจและความสำคัญกับแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของพลเมืองในการกำหนดผลประโยชน์สาธารณะและการมีความรับผิดชอบร่วมกันของพลเมืองและรัฐบาลในการบริหารงานภาครัฐ การตรวจสอบอย่างเป็นประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเป็นธรรม ความเสมอภาคและมิติความเป็นมนุษย์ของข้าราชการเพื่อให้บรรลุคุณค่าที่สำคัญ คือ “ความเป็นประชาธิปไตย” (Democracy)

การบริการภาครัฐแนวใหม่


การบริการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Service)

ให้ความสำคัญกับ “ประชาธิปไตย” ว่าเป็นคุณค่าหลักที่สำคัญ แนวทางนี้มีรากฐานจากทฤษฎีเกี่ยวกับประชาธิปไตย และแนวทางอื่น ๆ ในการแสวงหาความรู้ ซึ่งรวมถึงแนวทางแบบประจักษ์นิยม แนวทางการ ตีความ แนวทางเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และแนวทางแบบโพสต์โมเดิร์น มองข้าราชการว่าเป็นคนมีเหตุผลในเชิงยุทธศาสตร์ที่ใช้เหตุผล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และองค์การ มองผลประโยชน์สาธารณะว่าเป็นผลจากการพูดคุยเกี่ยวคุณค่าที่มีร่วมกัน มองประชาชนว่าเป็นพลเมืองซึ่งมีทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ นักบริหารหรือข้าราชการมีบทบาทรับใช้ประชาชน (Serving) เพราะประชาชนคือเจ้าของประเทศตัวจริง ข้าราชการต้องมีบทบาทในการเจรจาไกล่เกลี่ย และเป็นตัวกลางที่จะทำให้เกิดค่านิยมร่วมกันในหมู่พลเมือง ชุมชน และกลุ่มต่าง ๆ กลไกที่จะทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของนโยบายคือการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้บรรลุผลที่ตกลงร่วมกัน มองว่ากลไกการตรวจสอบมีหลากหลาย ทั้งด้านกฎหมาย ค่านิยมของชุมชน บรรทัดฐานทางการเมือง มาตรฐานทางด้านวิชาชีพ และผลประโยชน์ของพลเมือง ข้าราชการควรมีดุลยพินิจแต่ต้องมีการควบคุมและตรวจสอบ โครงสร้างองค์การควรเป็นแบบร่วมมือกันโดยมีผู้นำร่วมทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ ส่วนปัจจัยจูงใจข้าราชการและนักบริหารคือการได้รับใช้ประชาชนและการได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคม